วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

Doraemon

โดราเอมอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โดราเอมอน
ตัวละครหลักของเรื่องโดราเอมอน
ตัวละครหลักของเรื่องโดราเอมอน
ชื่อไทยโดราเอมอน
ชื่อญี่ปุ่นドラえもん
ชื่ออังกฤษDoraemon
ประเภทสำหรับเด็ก
แนวตลก-ดราม่า, ไซไฟ
มังงะ
เขียนเรื่องฟุจิโกะ ฟุจิโอะ
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น โชงะกุกัง
ไทย เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
นิตยสารโชงะกุอิจิเน็นเซย์-โยะเน็นเซย์
โคโรโคโรคอมิก
เทเลบิคุง
เมื่อพ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2539
จำนวนเล่ม45 เล่ม
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
โดราเอมอน ฉบับนิปปอนทีวี (2516)
ผู้กำกับมิตสึโอะ คามิริ
ผลิตโดยนิปปอนเทเลวิชัน โดงะ
ฉายทางญี่ปุ่น นิปปอนเทเลวิชัน
ฉายครั้งแรก1 เมษายน พ.ศ. 2516 - 30 กันยายน
พ.ศ. 2516
จำนวนตอน52 (15 นาที)
26 (30 นาที)
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
โดราเอมอน ฉบับทีวีอาซาฮี (2522-2548)
ผู้กำกับเรียว โมโตฮิระ > สึโตมุ ชิบายามะ
ออกแบบตัวละครเออิจิ นากามูระ
ผลิตโดยAsatsu-DK
ฉายทางญี่ปุ่น ทีวีอาซาฮี
ไทย โมเดิร์นไนน์ทีวี
ฉายครั้งแรก2 เมษายน พ.ศ. 2522 -18 มีนาคม พ.ศ. 2548
จำนวนตอน1,787[1]
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
โดราเอมอน ฉบับทีวีอาซาฮี (2548-ปัจจุบัน)
ผู้กำกับโคโซ คุสึบะ > โซอิจิโร เซ็น
ออกแบบตัวละครอายูมุ วาตานาเบะ
ผลิตโดยAsatsu-DK, ชินเอโดงะ
ฉายทางญี่ปุ่น ทีวีอาซาฮี
ไทย โมเดิร์นไนน์ทีวี
ฉายครั้งแรก15 เมษายน พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน
จำนวนตอน375+[2]
Wikikartoon.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมการ์ตูนญี่ปุ่น
โดราเอมอน (ญี่ปุ่นドラえもん Dora'emon โดะระเอะมง ?) หรือ โดเรมอน เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวหูด้วน ชื่อ โดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112(พ.ศ. 2655) มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วยของวิเศษจากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2513 โดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น อีกทั้งยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่น จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้บริษัทบันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิตหุ่นยนต์โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My โดราเอมอน" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552
ในประเทศไทย โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนมีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัทโรส วิดีโอ

โครงเรื่อง

เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของโนบิตะเด็กชายชั้น ป.4 ที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน, อ่านหนังสือ และไปโรงเรียนสายบ่อย ๆ โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือโดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอมอนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ไจแอนท์เด็กที่ดูเป็นอันธพาล แต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง ซูเนโอะผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด เดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ชิซุกะผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย ไจโกะน้องสาวของไจแอนท์ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มีโดเรมี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋ามิติที่ 4 และของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย และคุณพ่อและแม่ของโนบิตะ ซึ่งแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าพ่อ
แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะ และคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเล หรือว่ายุคไดโนเสาร์)

ประวัติและที่มาของโดราเอมอน

การ์ตูนโดราเอมอน ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เนื่องจากนักวาดการ์ตูนทั้ง 2 ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาทั้งสองไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ ที่จะมาแทนการ์ตูน เจ้าชายจอมเปิ่น แต่ในความจริงแล้วทั้งสองยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทั้งสองเป็นอย่างมาก
ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ หนึ่งในนักวาดการ์ตูน ได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเองเป็นประจำ เขามักจะชอบจับแมวตัวนี้มาหาหมัด จนเวลาล่วงเลยมาถึง 4.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่ ทำให้ฮิโรชิโมโหตัวเองเป็นอย่างมาก และคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีน เพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไป จึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่บนพื้น
เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตาญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ได้เรื่อง และตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น โดราเนโกะนั้นแปลว่าแมวหลงทาง ส่วนคำว่า "เอมอน" เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนของประเทศญี่ปุ่น และได้เปิดตัวในปีเดียวกัน เริ่มตีพิมพ์ในนิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็ง และนิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 (เดือนมกราคม ค.ศ. 1970)
การ์ตูนโดราเอมอน ลงตีพิมพ์พร้อมกันในนิตยสาร 6 ฉบับคือ นิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็ง, นิตรยสารโชงะกุอิชิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1), นิตรยสารโชงะกุนิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 2), นิตยสารโชงะกุซังเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 3) และนิตยสารโชงะกุโยเน็นเซ โดยมีทั้งหมด 1,344 ตอน โดยเขียนให้เหมาะกับผู้อ่านแต่ละระดับอายุ ซึ่งการ์ตูนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับ รางวัลเท็ตซึกะ โอซามุ เป็นการ์ตูนดีเด่น

รายชื่อตัวละคร


ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นเรื่องราวของกลุ่มเพื่อนในวัยเด็ก 4 คน และมีหุ่นยนต์แมวจากอนาคตเป็นตัวละครหลักดังนี้
โดราเอมอน
Ch-doraemon.gif
หุ่นยนต์แมวจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา โดเรมอนกลัวหนูมาก เพราะเคยโดนหนูแทะหู จนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิ เนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะโดราเอมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดราเอมอนจึงชอบเป็นพิเศษ จะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า "แรคคูน" หรือ "ทานุกิ" (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ฉันทนา ธาราจันทร์)
โนบิตะ (โนบิ โนบิตะ)
Ch-nobita.gif
เด็กชายที่ไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียน กีฬา นิสัยขี้เกียจ และชอบนอนกลางวัน สอบก็ได้ 0 คะแนนทุกครั้ง แต่ก็มีความสามารถด้านยิงปืนและพันด้าย และเป็นคนมีน้ำใจ ชอบชิซุกะมานาน และมักถูกไจแอนท์กับซึเนะโอะแกล้งประจำ แต่ก็เปลี่ยนเป็นคนละคนเมื่อโดราเอมอนไม่ได้อยู่กับเขาแล้ว จะมีอารมณ์ไม่พอใจเมื่อเดคิสุงิอยู่ใกล้กับซิซุกะ เพราะคิดว่าซิซุกะแอบชอบเดคิสุงิ แต่ถึงอย่างไรตอนอนาคตก็ได้แต่งงานกับโนบิตะอยู่ดี
ชิซุกะ (มินาโมโตะ ชิซุกะ)
Ch-shizuka.gif
เด็กสาวน้ำใจดี เป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมากและชอบเล่นเปียโน เป็นเด็กสาวที่โนบิตะแอบชอบ และชอบกินสปาเก็ตตี้และมันเผาเป็นพิเศษ อนาคตเธอก็ได้แต่งงานกับโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ศรีอาภา เรือนนาค)
ซึเนโอะ (โฮเนคาวะ ซึเนะโอะ)
Pirun.gif
เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดี และเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ ชอบพูดยกยอ และขี้ประจบ ชอบเอาของมาอวดให้พวกๆอิจฉาแต่ก็พร้อมที่จะเจออันตรายกับพวกเพื่อนๆได้ในตอนที่เป็นภาพยนตร์ มักจะวางแผนกับไจแอนท์เพื่อแกล้งโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส)
ไจแอนท์ (โกดะ ทาเคชิ)
Ch-gian.gif
เด็กอ้วน หัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำ แต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ (อยากขอร้องให้ช่วย) ฝันอยากจะเป็นนักร้องแต่เสียงไม่เอาไหน แต่บางครั้งเสียงไม่เอาไหนของเขาก็ช่วยทำให้สถานการณ์ที่คับขันให้คลี่คลายได้ เพราะคงไม่มีใครคนไหนที่สามารถทนเสียงของเขาได้ และเป็นคนที่รักเพื่อนพ้องมาก (พากย์เสียงภาษาไทยโดย นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์)
โดเรมี
Ch-doremi.gif
หุ่นยนต์แมวจากอนาคต เป็นน้องสาวของโดราเอมอนสวยน่ารัก แต่ประสิทธิภาพสูงกว่าโดราเอมอนทุกด้านเช่น ความรู้ วิธีใช้ของวิเศษ อาศัยอยู่ที่โลกศตวรรษที่ 22 ไม่ค่อยปรากฏตัวให้พบเห็น จะปรากฏตัวเมื่อโดราเอมอนเรียกขอความช่วยเหลือ หรือ สถานการณ์ที่โดราเอมอนไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็มาช่วยเหลือโนบิตะตอนที่โดราเอมอนไม่อยู่ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส)

ฉบับการ์ตูนทีวี (อะนิเมะ)

สัญลักษณ์ของโดราเอมอน

โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีเป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดสัญชาติญี่ปุ่น (อะนิเมะ) โดยสร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มในปี พ.ศ. 2516 โดยนิปปอนเทเลวิชันและต่อมาปี พ.ศ. 2522 ทีวีอาซาฮี นำมาออกอากาศต่อ]สำหรับในประเทศไทยเริ่มออกกาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. จากนั้นก็ได้มีการนำมาออกอากาศเป็นระยะๆ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ฉบับภาพยนตร์ และโดราเอมอนตอนพิเศษ


โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เป็นอะนิเมะตอนพิเศษ ซึ่งมีการจัดทำขึ้นเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และหนังสือการ์ตูน โดยเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นปีแรกที่มีการสร้างฉบับภาพยนตร์ชื่อตอนว่า ตะลุยแดนไดโนเสาร์ และมีการสร้างตอนพิเศษเรื่อยมาทุกปี ทั้งนี้ในปีพ.ศ. 2548 เป็นปีครบรอบ 25 ปีของการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ออกมาเป็นตอนพิเศษอีกด้วย โดยมีวีซีดีออกมาครบแล้ว 30 แผ่น 30 ตอน และมีการนำตอนเก่ามาสร้างใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา
ลำดับชื่อเรื่องภาษาไทยปีที่ออกฉายฉากสำคัญของเรื่อง / หมายเหตุ
1ไดโนเสาร์ของโนบิตะ (ผจญภัยไดโนเสาร์)ค.ศ. 1980ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส
2ตะลุยจักรวาล (โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ)ค.ศ. 1981ใต้เสื่อของห้องโนบิตะเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างมิติ
3บุกแดนมหัศจรรย์ค.ศ. 1982อาณาจักรสุนัขในดินแดนลึกลับแอฟริกากลาง
4ผจญภัยใต้สมุทรค.ศ. 1983ผจญภัยใต้มหาสมุทรแปซิฟิก
5ตะลุยแดนปีศาจ (โนบิตะท่องแดนเวทมนตร์)ค.ศ. 1984โลกเวทมนตร์ที่เกิดจากรูปปั้น
6สงครามอวกาศค.ศ. 1985การผจญภัยในอวกาศ เพื่อช่วยประธานาธิบดี วัยเยาว์
7สงครามหุ่นเหล็ก (ผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก)ค.ศ. 1986การผจญภัยกับหุ่นยนต์ยักษ์ในโลกกระจก
8บุกแดนใต้พิภพ (เผชิญอัศวินมังกร)ค.ศ. 1987โลกใต้พิภพที่ไดโนเสาร์ที่พัฒนาแล้วอาศัยอยู่
9ท่องแดนเทพนิยายไซอิ๋วค.ศ. 1988ภาพยนตร์ชุดนี้ไม่ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูน ใช้โครงเรื่องที่ผู้เขียนวางไว้[4]
10ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ (กำเนิดประเทศญี่ปุ่น)ค.ศ. 1989ประเทศญี่ปุ่นที่มนุษย์โบราณชาวจีนอาศัยอยู่เมื่อ 7 หมื่นปีก่อน
11ตะลุยดาวต่างมิติ (โนบิตะตะลุยอาณาจักรดาวสัตว์)ค.ศ. 1990ดาวสัตว์ที่เชื่อมต่อระหว่างมิติด้วยหมอกสีชมพู
12ตะลุยแดนอาหรับราตรีค.ศ. 1991การผจญภัยของดาบและเวทมนตร์ในโลกนิทานอาหรับราตรี
13บุกอาณาจักรเมฆค.ศ. 1992โลกของมนุษย์และสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วบนก้อนเมฆ
14ฝ่าแดนเขาวงกต (ความลับของหุ่นกระป๋อง)ค.ศ. 1993โลกของเล่นที่เครื่องจักรควบคุมมนุษย์
15สามอัศวินในจินตนาการค.ศ. 1994การผจญภัยในโลกของความฝัน
16ตำนานการสร้างโลก (บันทึกการสร้างโลก)ค.ศ. 1995มนุษย์แมลงที่กำเนิดขึ้นในโลกของโนบิตะที่สร้างจากชุดสร้างโลก
17ผจญภัยสายกาแล็คซี่ (รถด่วนสายทางช้างเผือก)ค.ศ. 1996การเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ในอวกาศด้วยรถไฟอากาศปริศนา
18ผจญภัยเมืองในฝัน (ตะลุยเมืองตุ๊กตาไขลาน)ค.ศ. 1997เมืองของเล่นมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นบนดาวเคราะห์น้อย
19ผจญภัยเกาะมหาสมบัติ (ผจญภัยทะเลใต้)ค.ศ. 1998ผจญภัยหาสมบัติในหมู่เกาะทะเลใต้ ยุคศตวรรษที่ 17[4]
20ตะลุยอวกาศค.ศ. 1999การตะลุยอวกาศเพื่อตามไจแอนท์และซึเนะโอะกลับโลก[4]
21ตำนานสุริยกษัตริย์ค.ศ. 2000ดินแดนยุคอารยธรรมมายาและเวทมนตร์
22โนบิตะและอัศวินแดนวิหคค.ศ. 2001การผจญภัยในดินแดนมนุษย์วิหค
23โนบิตะ ตะลุยอาณาจักรหุ่นยนต์ค.ศ. 2002กองทัพหุ่นยนต์ จากยุคศตวรรษที่ 22
24โนบิตะ ผจญภัยดินแดนแห่งสายลมค.ศ. 2003ไข่ลูกพายุไต้ฝุ่น และดินแดนแห่งสายลม
25โนบิตะ ท่องอาณาจักรโฮ่งเหมียวค.ศ. 2004ดินแดนแห่งหมาและแมวที่โนบิตะได้พัฒนาพวกเขาขึ้นมา
26ไดโนเสาร์ของโนบิตะค.ศ. 2006นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ผจญภัยไดโนเสาร์
27โนบิตะ ตะลุยแดนปีศาจกับ 7 ผู้วิเศษค.ศ. 2007นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง โนบิตะท่องแดนเวทมนตร์
28โนบิตะกับตำนานยักษ์พฤกษาค.ศ. 2008ดินแดนแห่งต้นไม้และป่าไม้
29โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศค.ศ. 2009นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ
30สงครามเงือกใต้สมุทรค.ศ. 2010การผจญภัยในโลกใต้ทะเล
31โนบิตะ ผจญกองทัพมนุษย์เหล็กค.ศ. 2011นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก
32โนบิตะผจญภัยในเกาะมหัศจรรย์ค.ศ. 2012เกาะที่มีสัตว์หายากและสัตว์สูญพันธุ์อาศัยบนเกาะ
33โนบิตะล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษค.ศ. 2013พิพิธภัณฑ์ของวิเศษในโลกอนาคต
34ตะลุยแดนมหัศจรรย์ค.ศ. 2014นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง บุกแดนมหัศจรรย์
35แสตนบายมี โดราเอมอนค.ศ. 2014ภาพยนตร์แอนิเมชันคอมพิวเตอร์ในรูปแบบสามมิติเป็นครั้งแรกของโดราเอมอน

เพลงประกอบ


เพลงเปิดของโดราเอมอน คือเพลง "โดราเอมอนโนะอุตะ" (ญี่ปุ่นドラえもんのうた Doraemon no uta เพลงของโดราเอมอน ?) ซึ่งใช้เป็นเพลงเปิดทั้งของฉบับการ์ตูนโทรทัศน์และฉบับภาพยนตร์บางตอนในช่วงปี พ.ศ. 2522-2548 โดยมีผู้ขับร้องหลายคนในช่วงเวลาแตกต่างกัน ในขณะที่เพลงปิดนั้นมีทั้งหมด 11 เพลง

ความนิยม

โดราเอมอนเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย มีการพิมพ์ใหม่ หรือนำออกมาฉายซ้ำออกอากาศอยู่เรื่อยๆ 
เว็บไซต์ kartoon-discovery ให้เหตุผลที่เรื่องโดราเอมอนเป็นที่ชื่นชอบในทำนองเดียวกันว่าว่า เพราะโดราเอมอนให้จินตนาการอันกว้างไกล เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างแรงบันดาลใจให้บรรลุความสำเร็จ เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและครอบครัว ตรงกับชีวิตของบุคคล และเป็นสารานุกรมสอดแทรกความรู้[24]
นอกจากนี้ โดราเอมอนยังมีอิทธิพลทางวัฒนธรรม ดังนี้
รถไฟที่ตกแต่งด้วยตัวละครโดราเอมอน
  • หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้มากกว่า 75,000,000 เล่ม
  • ประเทศแรกที่ฉายโดราเอมอนต่อจากญี่ปุ่น คือฮ่องกง ใน พ.ศ. 2524
  • หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีหลายภาษาด้วยกัน ไม่ต่ำกว่า 9 ภาษาทั่วโลก ตีพิมพ์ในประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ สเปน จีน เวียดนาม
  • ประเทศเวียดนามนิยมการ์ตูนโดราเอมอนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาโดราเอมอน เริ่มตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2536 แบบไม่ถูกลิขสิทธิ์ และใน พ.ศ. 2541 จึงมีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ ก็ยังได้รับความนิยมเสมอมา
  • พ.ศ. 2525 หนึ่งในผู้ให้กำเนิดโดราเอมอน ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ ได้เดินทางมาประชาสัมพันธ์โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ให้กับทางไชโยภาพยนตร์ และออกรายการ "อาทิตย์ยิ้ม" ของดำรง พุฒตาล ทางช่อง 9[ต้องการอ้างอิง]
  • พ.ศ. 2531 โดราเอมอนได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบัลลูนขนาดยักษ์ชื่อ "โดราบารุคุง" (ドラバルくん) โดยปล่อยให้ลอยอยู่บนท้องฟ้ามาเป็นเวลานาน 12 ปี และจากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ก็ได้มีการสร้างบัลลูนลูกใหม่ขึ้นมาในชื่อว่า "โดราเน็ตสึคิคิว นิโกคิ" (ドラ熱気球2号機)
  • พ.ศ. 2535 ในการประกวดแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ได้มีการผลิตรถพลังแสงอาทิตย์ตามตัวละครโดราเอมอนขึ้นมา เรียกว่า "โซราเอมอน" (ソラえもん号)
  • พ.ศ. 2540 ในวันที่ 2 พฤษภาคม สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานข่าวการวางจำหน่ายแสตมป์โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่น มีสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงิน โดยมีการต่อแถวรอซื้อตั้งแต่เช้า
  • ในประเทศญี่ปุ่น มีรถไฟโดราเอมอนอยู่ด้วย โดยเป็นเส้นทางจากอาโอโมริไปฮาโกดาเตะ ตัวโบกี้มีการตกแต่งด้วยตัวละครจากโดราเอมอนทั้งภายนอกและภายใน และมีโบกี้พิเศษสำหรับแฟนคลับโดราเอมอน โดยมีภาพยนตร์การ์ตูน ของที่ระลึกจัดจำหน่าย รวมไปถึงพนักงานต้อนรับสวมหัวโดราเอมอนซึ่งคอยบริการอยู่บนรถไฟ

โดราเอมอนกับประเทศไทย 

หนังสือการ์ตูนโดราเอมอน ที่มีการตีพิมพ์ในไทย ชุดพิเศษ เล่ม 7
ด้านหลังแฮนด์บิลภาพยนตร์โดเรม่อน ตอนผจญไดโนเสาร์
การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทย สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปีพ.ศ. 2524 โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า "โดราเอมอน แมวจอมยุ่ง" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์ ต่อมาสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจก็ได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกัน แต่เลือกใช้ชื่อว่า "โดเรมอน" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่าย จากเดือนละเล่มในช่วงต้น ก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่ม จนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์ และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของฟุจิโกะ ฟุจิโอะที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี
หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เห็นความนิยมของโดราเอมอน จึงได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ลงเป็นตอนๆ ในแต่ละวันโดยเริ่มวันแรกวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการไม่ให้ชื่อซ้ำกับทาง 2 สำนักพิมพ์แรก ไทยรัฐจึงได้ตั้งชื่อใหม่อีกเป็น "โดรามอน เจ้าแมวจอมยุ่ง" ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทยเรียกชื่อ โดราเอมอน ต่างกันหลายชื่อ
สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือสยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบัน และใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า "โลกของโดรามอน" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจากประเทศฮ่องกงมาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ
ในปีพ.ศ. 2525 ทางไชโยภาพยนตร์ได้มีการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ขึ้นถึง 2 ตอนด้วยกัน คือตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ และโนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ทางช่อง 9 ก็ได้มีการออกอากาศโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ทางโทรทัศน์ เริ่มเมื่อวันที่ 5 กันยายน ในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2525) ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน ทำให้ช่อง 9 ได้รับการยอมรับในเรื่องของการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และทีมนักพากย์การตูนอีกด้วย (นิตยสาร a day, 2545: 70) สำหรับในปัจจุบัน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มีการจัดฉายในโรงภาพยนตร์เป็นประจำทุกปีอีกครั้ง โดยบริษัทดับบลิวพีเอ็มฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มในปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ส่วนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีนั้นก็มีการฉายซ้ำเป็นระยะ และฉายตอนใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี
นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันดีถึงประเทศนี้แล้ว จนถึงกับมีการทำเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นไทย โดยฝีมือคนไทย ทางบริษัทไร้ท์ บิยอนด์ทำการ์ตูนไทยโดราเอมอน ชุด "นิทานของโนบิตะ" โดราเอมอนชอบโดรายากิ ส่วนโนบิตะชอบเรียน ชอบหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก และชอบอ่านนิทานสนุกสนาน ซึ่งออกจำหน่ายในรุปแบบ วีซีดีและดีวีดี

โดจินชิ

โดราเอมอนถูกนักวาดการ์ตูนคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผู้แต่งแท้จริงเขียนซ้ำ หรือที่เรียกว่า โดจินชิ ออกมามากมาย โดจินชิที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดก็คือ ผลงานของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ยาสุเอะ ทาจิมะ ซึ่งเป็นโดจินชิตอนจบของโดราเอมอน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากตอนจบของโดราเอมอนหลาย ๆ แบบที่ถูกเล่าลือตามเมลลูกโซ่มานาน งานโดจินชิเล่มนี้ ได้ออกวางขายครั้งแรกในงานคอมมิกมาร์เก็ต ฤดูร้อน ปี 2548 (ครั้งที่ 68) และครั้งต่อมาในฤดูหนาว (ครั้งที่ 69) ปีเดียวกัน ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนหนังสือถึงกับขาดตลาด และถูกนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง
แต่เนื่องจากโดจินชิเล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมียอดจำหน่ายมากถึง 15,550 เล่ม นับตั้งแต่ที่เริ่มเปิดตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ผู้ถือลิขสิทธิ์โดราเอมอนฉบับรวมเล่มเป็นอย่างมาก เพราะโดจินชิเล่มนี้ไม่ใช่ผลงานอย่างเป็นทางการของ ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตอนจบที่แท้จริงของโดราเอมอน ทำให้ทางสำนักพิมพ์ต้องออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เขียนว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และขอให้หยุดจำหน่ายโดจินชิเล่มนี้ในทันที รวมถึงการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตด้วย ซึ่ง ยาสุเอะ ทาจิมะ ก็ได้ออกมากล่าวคำขอโทษและแก้ต่างว่าเธอเพียงแค่เขียนโดจินชิเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างอะนิเมะฉบับจอเงิน (ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006) เท่านั้น ทำให้คดีความทั้งหมดยุติลง

ข่าวลือกับตอนจบของโดราเอมอน

การ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน ไม่มีตอนจบ เนื่องจากผู้เขียนได้เสียชีวิตไปก่อน แต่ก็มีหลายกระแสที่ออกมาบอกว่าผู้แต่งได้วางโครงเรื่องไว้ในตอนจบ ซึ่งต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่นักอ่านชาวไทยรู้กันดีคือ โดราเอมอนและตัวละครเสริมอื่นๆ นั้นไม่มีจริง มีแค่โนบิตะเพียงคนเดียว ซึ่งโนบิตะในตอนจบนั้นที่จริงแล้วเป็นเด็กที่ไม่สบายใกล้เสียชีวิต อยู่ในโรงพยาบาล และเพื่อนๆยืนอยู่ข้างเตียงของโนบิตะที่ใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งตอนจบนี้มีความสะเทือนใจอย่างมาก ผิดไปจากการ์ตูนหลายๆ เรื่องที่ผู้เขียนเคยแต่งมา ซึ่งส่วนใหญ่จะจบลงด้วยดีมาตลอด
ส่วนตอนจบอีกแบบหนึ่งคือ อยู่ดีๆ วันหนึ่งโดราเอมอนก็เกิดแบตเตอรี่หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉยๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดรามี น้องสาวของโดราเอมอน โดรามีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ ไทม์แมชชีนนั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วตั้งใจเรียนจนเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก แล้วก็แต่งงานกับชิสึกะและสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป (โดยก่อนที่โนบิตะจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้เรียกชิสึกะมาดูโดราเอมอน) และเขาก็มีลูกชื่อโนบิสึเกะ และอยู่ด้วยกันอย่างมีสุข
สำหรับความเป็นไปได้ของตอนจบรูปแบบนี้ได้ปรากฏขึ้นใน "โดรามีกับการผจญภัยของโนบิสุเกะ" ซึ่งเรื่องราวกล่าวถึงโดราเอมอนที่ได้รับการซ่อมแซมจากโนบิตะ ผ่านทางการทักทายของซิซูกะและโดรามี หลังจากที่ทั้งสองไม่ได้เจอหน้ากันมาร่วม 10 ปี โดยบทสนทนานั้นได้มีการพูดถึงโดราเอมอนที่ซ่อมแซมโดยโนบิตะและกลับไปยังยุคของเซวาชิ และในฉากที่โนบิตะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์เครื่องติดตามตัวลงในตัวมินิโดราสีแดงซึ่งเป็นผลจากการซ่อมแซมโดราเอมอน ทำให้โนบิตะเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตตนเองในที่สุด
อย่างไรก็ดี โดราเอมอนตอนจบทุกแบบก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนเพียงพอว่าเป็นตอนจบที่แท้จริง และอันที่จริงแล้วโดราเอมอนนั้นเคยจบไปแล้วครั้งหนึ่งในตอนสุดท้ายของรวมเล่มฉบับที่ 6 ชื่อตอนว่า "ลาก่อนโดราเอมอน" แต่เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการจากทั้งแฟน ๆ และทางสำนักพิมพ์ ในที่สุด ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ จึงได้กลับมาเขียนโดราเอมอนต่ออีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น